Board Game Night | Official Site

ยินดีต้อนรับสู่ Board Game Night เพราะใครๆก็เล่นบอร์ดเกม!!

[เกมนอกกระดาน]ระวังโดนเป่า

ระวังโดนเป่า

นี่ไม่ใช่เรื่องราวของการเมาแล้วขับ

แต่เป็นเรื่องของเกมที่มีอายุมากกว่า

ประเทศไทย และถูกใช้ช่วยตัดสินใจ

ในเรื่องยาก ๆ มาแล้วทั่วโลก

นี่ไม่ได้เว่อร์ แต่วันนี้จะเอาเรื่องของสุดยอดเกมที่รับใช้มนุษยชาติมาอย่างยาวนาน และเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจอย่าง “เป่า ยิ้ง ฉุบ” ซึ่งล่าสุดเกมนี้ได้ถูกพัฒนาไปเป็นบอร์ดเกมกลยุทธได้อย่างสวยงามและสนุกมากด้วยภายใต้ชื่อ “GG” ซึ่ง GG นี่คนตั้งชื่อเค้าตั้งใจให้แปลว่าอะไรก็ไม่รู้นะฮะ แต่ให้เดาตามประสาเกมเมอร์ คงย่อมาจาก Good Game ซึ่งเอาไว้พูดกันตอนแข่งขันเกมกันจบ

BGN บอร์ดเกมไนท์ EP68 GG เป่า ยุ่ง ชิบ

เป่ายิ้งฉุบ นี่แม่งเป็นเกมที่เกิดขึ้นมานานเป็นชาติแล้วจริง ๆ ครับ และด้วยการเป็นเกมที่ไม่ยากนักที่จะคิด ก็มีหลักฐานมากมายจากหลายที่ในโลกที่มาเกทับกันว่า “กูเป็นคนคิดเกมนี้โว้ยยยย” ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่า อะไรพวกนี้มันก็เป็นผลผลิตของสังคมแหละ จะมาเคลมว่าประเทศชั้นคิดก่อน กูคิดก่อนไปทำไม ทั้งที่มันก็เกิดขึ้นได้เมื่อองค์ความรู้ในสังคมมันพร้อม

แต่เอาเป็นว่าหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกไว้เกี่ยวกับเกมนี้ ย้อนไปไกลถึง 200 ปีก่อนคริสตกาล ในแผ่นดินที่เป็นประเทศจีนปัจจุบันครับ ตอนนั้นเกมนี้ มันก็ไม่ได้เป็นค้อน กรรไกร กระดาษ แบบที่เรารู้จักหรอกฮะ ก็เป็นแบบอื่น สัญลักษน์มือที่ใช้ก็ไม่ใช่ แต่ว่าวิธีการเล่น และกลไกของเกมก็หลักการนี้ครับ คือ a ชนะ b, b ชนะ c และ c ชนะ a วนไปอย่างงี้ ฝรั่งเรียก Zero-Sum

เป่ายิ้งฉุบยุคแรก ๆ ในญี่ปุ่น

“เกมเป่ายิ้งฉุบ(แบบดั้งเดิม)นี้แม่งก็อยู่รอดมาเป็นพันปีครับ”

แล้วก็แพร่กระจายออกมาถึงญี่ปุ่นด้วย และที่ญี่ปุ่นนี่แหละครับ ที่ว่ากันว่าเป็นแหล่งกำเนิดเกมเป่ายิ้งฉุบยุคใหม่ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก คือช่วงราวปี 1800 เป็นต้นมานี่ ในญี่ปุ่นฮิตเกมนี้มาก เล่นกันทุกผู้ทุกคน เด็กนี่ติดกันงอมแงม หนักกว่า ROV อีก เพราะแม่งไม่ต้องใช้เครื่อง เดินเจอใครก็มองหน้าแล้วถามเลย

“เห้ยมึงจะเอาหรอ…” อีกฝั่งก็ตอบ

“จะเอาปะหละ”

แล้วก็มาเป่ายิ้งฉุบกันสนุกสนาน

ช่วงปี 1900 ในญี่ปุ่นก็มีเป่ายิ้งฉุบสายนึง พัฒนาสัญลักษณ์มาเป็น ก้อนหิน กระดาษ กรรไกร และก็กลายเป็นที่มาของเกมก้องโลก rock paper scissor ที่กระจายตัวออกไปทั่วเอเชีย ลามไปถึงยุโรป และก็อเมริกา ก็คือทั่วโลกนั่นแหละ (ทั้งนี้อย่างที่บอก แต่ละที่ในโลกมีเกมที่คล้าย ๆ กันอยู่แล้ว จึงไม่ยากที่จะรับอันนี้ไปเล่น)

เสื้อผ้าตรา เป่ายิ้งฉุบ ที่เด็กไทยคงเคยผ่านตามาบ้าง

ส่วนในไทย หลายคนคงงง เพราะกูก็ยังงง ว่าอ๊าววว เค้าฮิต ก้อนหิน กรรไกร กระดาษ ทำไมพี่ไทยถึงเป็น ค้อน กรรไกร กระดาษ วะ ? เพราะไทยเก่งครับ เป็นสุดยอดนวัตกรรมเลยคิดเองได้ ถุยยย! ไม่ใช่ครับ คืออย่างที่บอกไป เกมนี้มันถูกบิดถูกพัฒนาไปอยู่ตลอดอะครับ แต่ละยุคแต่ละที่ก็ใช้สัญลักษณ์แตกต่างกันไป ถ้าให้ผมเดาจากข้อมูลที่หาเร็ว ๆ คิดว่า เป่ายิ้งฉุบแบบไทย แบบค้อน กรรไกร กระดาษ นี่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีนใต้ครับ นักค้นคว้าชาวพันทิปท่านหนึ่งเคยเล่นว่า ภาษาจีนกวางตุ้ง ที่เรียกเกมนี้ว่า ป๊าว จี๋น ตับ (กูก็ไม่เก่งจีนเสียด้วย) แปลว่า ห่อ ตัด ทุบ และมีคนมาบอกอีกว่ามีคนเรียกว่า เป่า เจี่ยน ฉุย ด้วย ซึ่งความหมายเหมือน ๆ กันแหละ เพียงแต่ตำว่า ฉุย แปลว่าค้อน (ไอ้สัด เจอสักที ค้อนมาจากไหน)

เป่ายิ้งฉุบเนี่ย เป็นเกมที่เอาไว้ใช้ช่วยตัดสินใจเวลาเจออะไรที่ตัดสินใจยาก เหมือนโอน้อยออก เหมือนทอยเต๋า หาว่าใครจะเริ่มเล่นก่อนอะไรพวกนั้นแหละ แต่ต่างกันตรงที่ว่า เป่า ยิ้ง ฉุบ มันไม่ใช่การสุ่มมั่ว แต่มันมีตรรกะของมันชัดเจน พอเกมนี้ฮิตไปถึงฝั่งตะวันตก ที่คลั่งไคล้เรื่องความรู้อยู่พอดี ก็เลยเกิดสมาคมเป่ายิ้งฉุบขึ้น และใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

อายุตอนนี้ก็น่าจะตั้งมาร้อยกว่าปีและครับ ปัจจุบันชื่อ RPS society แล้วก็มีการจัดแข่งขันเป็นจริงเป็นจังกันทั่วโลก แบบชิงแชมป์โลกงี้เลยแหละมึง

 

นอกจากเป็นการแข่งขันแล้ว เป่ายิ้งฉุบ ก็ยังถูกใช้ในการตัดสินใจอะไรสำคัญ ๆ ในโลกปัจจุบันจริง ๆ ด้วยนะเว้ย

โลโก้ของสมาคมเป่ายิ้งฉุบโลก

เช่น วง AKB48 ไอดอลชื่อดังในญี่ปุ่น นี่เค้าแม่งต้องเป่ายิ้งฉุบกันเพื่อคัดเลือกคนที่จะได้มีส่วนร่วมในเพลงใหม่ของวง (ไอ้สาดดดดดดดดดดด มึงไม่คัดจากความสามารถหรือตกลงกันดี ๆ วะ) สิ่งที่โอตะทั้งหลายจะได้เห็นคือ เหล่าไอดอลเป่ายิ้งฉุบกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง เครียดจริง เสียใจจริง (โว๊ยยยย อะไรของมัน)

ส่วนหนึ่งในการแข่งขันเป่ายิ้งฉุบของ AKB48

อีกเคสนึงที่ดังมาก ๆ คือ การประมูลคอลเล็คชั่นงานศิลปะในปี 2005 จริง ๆ เรื่องนี้มันเกิดขึ้นก่อนการประมูล คือมี CEO ชาวญี่ปุ่นคนนึง เขาเกิดอยากจะประมูลคอลเลคชั่นงานศิลปะของตัวเอง ซึ่งแม่งมีภาพดังมูลค่ากว่าสิบล้านดอลลาร์สหรัฐฯรวมอยู่ด้วย ทีนี้เค้าก็ประกาศหาคนที่จะมาจัดการประมูลให้ ทีนี้ก็ดันมีสองเจ้าผ่านเข้ารอบ และดั๊นนนมีข้อเสนอที่ดีพอ ๆ กัน คุณ CEO ท่านนี้แกก็ตัดสินใจไม่ได้ เอาไงดี ๆๆๆๆ แกแม่งบอกว่า งั้นฉันจะตัดสินให้เจ้าที่เป่ายิ้งฉุบชนะ ได้สิทธิในการจัดประมูลและหักค่านายหน้าไป… ไอเชี่ยยยย…

22042103_1831805150463182_5938095265013521564_o

Large Trees Under the Jas de Bouffan หนึ่งในงานศิลปะในคอลเลคชันดังกล่าว มูลค่ากว่า 11 ล้านเหรียญ

สุดท้ายสุดสัปดาห์นั้นนายหน้าประมูลสองเจ้า ไม่ต้องเป็นอันทำอะไรเลยครับ ทำรีเสิร์ชเรื่องการเป่ายิ้งฉุบกันเป็นบ้าเป็นหลัง เพราะการออกค้อน กรรไกร กระดาษเพียงแค่ครั้งเดียวนี่ส่งผลต่อรายได้หลักล้าน สุดท้ายเจ้าที่ชนะไปขอคำแนะนำจากเด็กหญิงอายุ 11 ปี ลูกหลานคนในออฟฟิศ เด็กหญิงบอกว่าให้ออก “กรรไกร” และนายหน้าเจ้านี้ก็ชนะการประมูลไปด้วยการออก “กรรไกร” ตามที่เด็กบอกนั่นแหละ

คอลเลคชั่นที่ได้มาจากการเป่ายิ้งฉุบ

ถูกประมูลไปในราคา 20 ล้านเหรียญหวะ

รื่องการเป่ายิ้งฉุบนี่ถูกค้นคว้าวิจัยมาตลอดอีกด้วยนะฮะ นอกจากจะหากลวิธีในการเป่าให้ชนะแล้ว มันยังช่วยอธิบายการตัดสินใจของคน รวมทั้งเงื่อนไขและประเด็นทางจิตวิทยาที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจของคนด้วย การวิจัยพวกนี้ไปไกลมากจนเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ที่ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาอัลกอริทึ่มเป่ายิ้งฉุบให้ชนะขึ้นมาได้ แล้วเขาก็ใช้มันโปรแกรมให้กับหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ซึ่งแม่งเป่ายิ้งฉุบชนะคนแบบ 100% ในการทดสอบ

ที่เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อบอกว่า ถ้าตัดสินใจอะไรไม่ได้ ก็ใช้เป่ายิ้งฉุบเนี่ยแหละ แต่แม้กระทั่งเป่ายิ้งฉุบที่ดูง่าย แต่คาดเดาไม่ได้ เราก็สามารถเรียนรู้มัน เข้าใจมัน เตรียมตัวเกี่ยวกับมัน อย่างจริงจังได้ ไม่มีอะไรที่เราจะเตรียมรับมือกับมันไม่ได้ แค่เราจะเตรียมรึเปล่าแค่นั้น และถ้าเราเตรียมตัวมาอย่างดี มันก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้อะไรดี กลับไป…มั้ง

หวังว่าหลังจากนี้คงจะสนุกกับการเป่ายิ้งฉุบกันมากขึ้นนะครับ แต่ก็ไม่ต้องไปเครียดถึงขั้นว่ากูอุตส่าห์รีเสิร์ชมา กูแพ้ได้ไงวะ ?? ก็ได้แหละครับ มึงแพ้เพราะมึงแพ้ไงครับ ฮ่า ๆๆๆ มันมีแค่ค้อน กรรไกร กระดาษ นี่เนอะ… ถ้าเป่ายิ้งฉุบแพ้บ่อย ๆ ให้ปลอบใจตัวเองว่า “กูอาจไม่เหมาะกับเกมนี้” และลองไปหาเกมอื่น ๆ ที่มีอยู่มากมายก่ายกอง แล้วเล่นกันดูครับ

ด้วยรักและเครารก

ธันว์

“เกมนอกกระดาน” โดย ธนชัย วรอาจ (ธันว์)

Author