มึงมันเลว !!
เราคงคุ้นเคยกับคำว่า ดี – เลว
กันมาเป็นอย่างดี
โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีนี้ที่สังคม
ไทยทั้งพูดถึงและมองหาคนดีกัน
มากเหลือเกิน
จริง ๆ แล้วเรื่องดี – เลว นี่ก็มีปรากฏอยู่ในทุกสังคมและวัฒนธรรมแหละฮะ เอาจริง ๆ ไม่ต้องระดับใหญ่ขนาดสังคมหรอก ตั้งแต่เราเด็ก ๆ ไอ้ชุดคำว่า ดี และ เลว นี่ก็ถูกพูดถึง ถูกสอนกันมาตลอดใช่ไหม
พูดอีกอย่างก็คือ ไม่ว่า จะที่ไหนก็พูดเรื่อง ดี – เลว นี่เหมือน ๆ กัน
แต่เดี๋ยวก่อน มึงคิดว่า ดี – เลว ของพวกเราแต่ละคนเหมือนกันจริง ๆ ไหมวะ ??
…….
วันนี้เรื่องที่ผมจะชวนคิด ชวนคุย อาจจะหนักกบาลขึ้นเล็กน้อย และเพื่อเป็นการเตรียมตัว ผมแนะนำให้ลองเปิดดูการเล่นเกม Good Cop Bad Cop ของ BGN ดูซักรอบ แล้วค่อยมาลุยไปด้วยกันก็ได้นะฮะ
ผมได้มีโอกาสเล่น และก็ดูชาว BGN เล่นเกมนี้ และทำให้ผมเห็นและคิดอะไรหลาย ๆ อย่าง
อย่างแรกเลย เกมนี้แม่งทลายความหมายของคำว่า “good cop bad cop” ไปไม่เหลือชิ้นดี คือทำให้มันกลายมาเป็นความหมายง่าย ๆ ว่า “ตำรวจดี ตำรวจเลว” ซื่อ ๆ ตรง ๆ แค่นี้เลย
ทั้งที่จริง ๆ good cop bad cop เป็นสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นอีกอะ
หลายคนที่ชอบดูหนัง โดยเฉพาะพวกหนังอาชญกรรม หนังตำรวจ ๆ คงจะผ่านหูผ่านตากับคำว่า good cop bad cop กันมาบ้าง
ซึ่งไอ้ชุดคำ “ตำรวจดี ตำรวจเลว” เนี่ย มันถูกใช้เป็นชื่อวิธีหนึ่งในการทำงานของพี่ ๆ ตำรวจเค้าเลยหละครับ ส่วนมากเราจะเห็นได้ในฉากสอบสวนผู้ต้องหา หรือผู้ต้องสงสัย
ฉากการสอบสวนในหนัง
เอาง่าย ๆ ว่าจะมีพี่ตำรวจสองคนแท็กทีมกันครับ โดยคนนึงจะรับบทเป็น พวกก้าวร้าว ใช้กำลัง ใช้คำพูดรุนแรง และข่มขู่คนที่ถูกสอบสวนนานาสารพัดวิธี เรียกได้ว่า สร้างความกดดันทุกทางเท่าที่จะทำได้ พอหนำใจพี่ที่รับบท “ตำรวจเลว” แล้ว ก็ถึงตาของพี่ “ตำรวจดี”
พี่ตำรวจดีก็จะเข้ามาในภาวะกดดันนั้นแหละครับ และมีท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมจะปกป้อง ช่วยเหลือ และหยิบยื่นข้อเสนอ ที่ดูเหมือนจะเป็นทางออก หรือการแก้ปัญหาที่คนที่โดนสอบสวนเผชิญอยู่
แน่หละฮะ นี่เป็นวิธีทางจิตวิทยา พอใครเจอเรื่องหนัก ๆ มา โดนกดดันหนัก ๆ เข้า แล้วมีทางออก มีความช่วยเหลืออะไร ก็พร้อมจะเปิดใจรับ ในกรณีของการสอบสวนของตำรวจ ก็มักจะคาดหวังว่า ฝั่งตำรวจจะได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการทำคดีต่อไปนั่นแหละฮะ
ซึ่งวิธีการแบบ good cop bad cop นี่มันก็เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนะครับ แล้วก็ถูกนำไปปรับใช้ในหลาย ๆ แวดวง คือ ไม่ใช่แค่พี่ ๆ ตำรวจใช้ พี่ ๆ โจรก็มีใช้กัน หรือในการเจรจาธุรกิจก็มีการเอาไปปรับใช้ได้ด้วยฮะ
…
ที่เล่ามานี่คงพอจะเห็นว่า เห้ย good cop bad cop นี่แม่งไม่ได้มาทื่อ ๆ แบบ ตำรวจคนนี้ดี ตำรวจคนนี้เลว แต่มันคือเรื่องของ “บทบาท” ซึ่งอาจรวมถึงเป็น “หน้าที่” ด้วย
คือบนโลกจริง ๆ อะไร ๆ มันก็ไม่ได้ถูกทำให้ง่ายเหมือนในเกมอะ แบบที่ว่า ถ้ากูรู้ว่ามึงไม่ใช่ตำรวจดี มึงก็เป็นตำรวจเลว ก็แค่นั้นไง … หรือถ้ามึง ไม่เลว มีงก็ดีไง
ไอ้ห่า มันไม่ได้ง่าย ๆ แบบนั้นหรอก
…แต่หลายที เราหลายคนก็เคยชิน
กับการทำให้มันง่ายแบบนั้น และ
หลายทีมันก็ไม่ได้ส่งผลที่ดีนักตาม
มา
ลองนึกกันดูเล่น ๆ ว่า ถ้าสมมติมึง เจอคน ๆ นึงทำอะไรถูกใจมึงสักอย่างสองอย่าง มึงก็จะตัดสินไปกลาย ๆ แล้วว่า คนคนนี้แม่งคงเป็นคนดี โดยเราแม่งก็มักจะมองข้ามไปเลยว่า ที่เขาทำแบบนั้นแบบนี้ เพราะอะไร เค้ามีบทบาท มีหน้าที่อะไรให้เขาต้องทำแบบนั้นหรือเปล่า
เรามอง ดี – เลว จากมุมมองเดียวกันไหม ?
ในทางกลับกัน ถ้ามึงเจอคนที่ทำอะไรสักอย่างที่ไม่ถูกใจมึงมาก ๆ พวกเราก็มีแนวโน้มจะมองเค้าว่าไอ้คนนี้อาจจะเป็น “คนไม่ดี” โดยที่จริง ๆ เราก็ไม่รู้อีกแหละว่า เค้าอาจจะทำอะไรดี ๆ ได้เหมือนกัน (หนัก ๆ เข้าหน่อยไม่ใช่แค่ไม่รู้ แต่กูไม่สนใจและหละ ว่ามึงจะดีไหม เพราะสำหรับกูมึง “ไม่ดี” ไปแล้ว)
…
ผมไม่ได้บอกเลยนะฮะ ว่าการที่เราเป็นอย่างนี้พวกเราทำผิด.. เพราะการตัดสินคนอื่นแบบนี้ มันทำให้ชีวิตของพวกเราง่ายขึ้น มันทำให้เรารู้ว่าเราจะดีลกับคนต่าง ๆ ยังไง
แต่อย่างที่บอกคือ การทำให้ง่าย แม่งก็อาจจะไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป
ปัญหาเล็ก ๆ ที่บานปลายได้หลายอัน มันอาจจะเริ่มจากการทำให้ง่ายเหล่านี้แหละ จากการที่เราแบ่งอะไรเป็นสองขั้ว เป็นคู่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
เช่น เวลาเราพิจารณาแล้วว่า “เห้ย คนนี้น่าจะเป็นคนไม่ดี” เขาจะกลายเป็น “คนเลว” ทันที
แต่ถ้าเราลองมอง ลองคิดดี ๆ.. ไอ้ห่า “ไม่ดี” มันไม่ต้องแปลว่า “เลว” ก็ได้นี่หว่า เช่นเดียวกัน “ไม่เลว” ก็ไม่จำเป็นต้องหมายถึง “ดี”
คือ คนเราแม่งก็กลาง ๆ มีดี มีเลว ปน ๆ มั่ว ๆ เทา ๆ กันอยู่เสมอ
เขาไม่ดีเรื่องนี้ ก็ดีเรื่องอื่นได้ เขาเลวเรื่องนี้ ก็อาจจะไม่เลวเรื่องอื่นได้ ใช่ไหมวะ ?
Two Face ตัวละครจากเรื่อง Batman ที่ชวนให้เราตั้งคำถามกับ ดี – เลว